ออฟฟิศซินโดรม อาการปวดที่ไม่ควรละเลย
ออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome เป็นโรคที่หนุ่มสาวออฟฟิศเป็นกันเยอะมากแล้วทุกวันนี้คนไทยเริ่มตื่นตัวให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากแล้วนะคะ เราสามารถบรรเทาโรคออฟฟิศซินโดรม ได้ การดูแลสุขภาพร่างกายนั้น เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันนี้ หากเรารักษาโดยแต่กินยาแล้วละก็ แย่เลยนะคะ ทางที่ดีเราควรป้องกัน ก่อนที่จะเป็น วันนี้แอดรินจะเปิดประเด็น เกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรม กันอย่างถึงรากถึงแก่นเลยค่ะ
อาการออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome คืออะไร
ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้เปลี่ยนท่าทางหรือปรับอริยาบท จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการชาบริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องอาจเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง กลุมคนที่ประสบพบ โรค้หล่านี้คือ กลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศ หรือพนักงานบริษัทต่างๆ ที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ปรับอิริยาบทที่ดี จนกลายเป็นชื่อโรค ออฟฟิศซินโดรม นั่งเอง เมื่อสงสัยว่าตัวเองเป็นออฟฟิศซินโดรม การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการทำงานด้วยท่าทางที่ถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้
อาการ ออฟฟิศซินโดรมเป็นยังไง
- อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Mtofascial Pain Syndrome) โดยเฉพาะปวดบริเวณคอ บ่า สะบัก ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง ชา เป็นต้น
- การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ เช่น การอักเสบของเอ็นโค่นนิ้วโป้ง (De Quervain’s Disease) นิ้วล็อค (Trigger Finger)
- การกดทับปลายประสาท ทำให้เกิดอาการชา รวมถึงอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ถ้าหากรุนแรง (Nerve Entrapment) เช่น พังผืดทบเส้นประสาทข้อมือ (Carpel Tunnel Syndrome) พังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอก (Cubital Tunnel Syndrome)
ประเมินโอกาสเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม
- คุณเป็นคนที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
- คุณรู้สึกตาพร่ามัว อ่านหน้าจอไม่ชัด ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง
- ระหว่างทำงาน คุณรู้สึกปวดเมื่อยจนบางครั้งต้องกินยาแก้ปวด หรือไปนวดเพื่อให้หายปวด
- ระหว่างทำงาน คุณมักจะรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ ไหล่ หลัง เอว อยู่เสมอ
หากคำตอบของคุณส่วนใหญ่คือใช่ นั่นหมายความว่าคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรม
การป้องกันไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายก็เป็นป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมหลังเลิกงานก็ออกยืดเส้นยืดสายให้ คอ บ่า ไหล่ ได้ออกกำลังกาย และได้ยืดได้ขยับทำให้ไม่ให้เกิด กล้ามเนื้อยึดอยู่กลับที่ และกล้ามมัดเนื้อได้คล้ายตัวออกทำให้เวลาออกกำลังกายแล้วรู้สึกสบายตัว สุขภาพดีห่างไกลโรคภัยแล้วค่ะ
ท่านั่งที่ถูกต้องเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม
ปรับเปลี่ยนที่การนั่ง ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา พร้อมทั้งจัดท่านั่งทำงาน ให้เหมาะสมนะคะ ท่านั่งเป็นปัจจัยลำดับต้นๆเลยที่จะทำให้ชาวเรา หนุ่มสาวออฟฟิศเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ค่ะ
- ปรับจอภาพให้อยู่ในระดับสายตา
- ไม่ควรยกไหล่ขณะพิมพ์งาน
- หาที่วางจ้อมือเพื่อให้กระดก 30 องศา
- ปรับพนักพิง 100 – 110 องศา
- ปรับความสูงของเก้าอี้ หรือหาเบาะเสริมให้ศอกตั้งฉาก 90 องศา
- เข่าและขาต้องตั้งฉาก 90 องศาถ้าไม่ได้ต้องหาที่วางเท้า
ท่านั่งที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุของออฟฟิศซินโดรม
- ก้มหน้า ก้มตา
- ยื่นคอมากไป
- ไหล่ห่อไม่รู้ตัว
- นั่งหลังโก่ง
- ข้อศอกลอย
- เข่างอจนสุด
- เท้าลอยจากพื้น
ท่ากายบริหารป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม
ยืดเส้นยืดสายอยู่เสมอ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการยืดเหยียดหรือเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมง เช่นการ นั่งทำงานอยู่แล้วรู้สึกว่าไม่ผ่อนคล้าย และไม่สบาย คอ บ่า ไหล ให้ลุกออกไป เดิน ยืดเส้นสายเพื่อให้กล้ามเนื้อไม่ตึงเกินไป
การยืดกล้ามเนื้อบ่าเพื่อป้องกันออฟฟิศซินโดรม
- นั่งตัวตรงบนเก้าอี้ ใช้มือขวาจับเบาะไขว้หลัง
- ใช้มือซ้ายแตะเหนือศีรษะขวา ออกแรงดึงให้หูซ้ายแนบบ่า
- ยืดค้างไว้ 10 วินาที/ครั้ง จำนวน 10 ครั้งต่อรอบ ให้ทำ 3 รอบต่อวัน
- สลับข้างซ้าย และขวา ในลักษณะเดียวกัน
การยืดกล้ามเนื้อสะบักส่วนบนเพื่อป้องกันออฟฟิศซินโดรม
- นั่งตัวตรงบนเก้าอี้ ใช้มือขวาจับเบาะหรือไขว้หลัง
- ใช้มือซ้ายแตะเหนือศีรษะ ออกแรงดึงให้ลงไปมองรักแร้
- ยืดค้างไว้ 10 วินาทีต่อครั้ง จำนวน 10 ครั่งต่อรอบ ทำ 3 รอบต่อวัน
- สลับข้างซ้าย และขวา ในลักษณะเดียวกัน
การยืดกล้ามเนื้อสะบักส่วนล่างเพื่อป้องกันออฟฟิศซินโดรม
- นั่งตัวตรงบนเก้าอี้ หรือยืนตัวตรง
- ยื่นแขนขวาไปข้างหน้า ใช้แขนซ้ายเกี่ยวข้อศอกขวา
- ยืดค้างไว้ 10 วินาทีต่อครั้ง จำนวน 10 ครั่งต่อรอบ ทำ 3 รอบต่อวัน
- สลับข้างซ้าย และขวา ในลักษณะเดียวกัน
การรักษาอาการปวดจากโรคออฟฟิศซินโดรม
หากปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อาการปวดยังไม่ทุเลา การปรึกษาแพทย์เพื่อ แนะนำแนวทางการรักษาก็จะช่วยให้กลับไปทำงานได้มีประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วค่ะ สำหรับแนวทางการรักษาแพททย์จะตรวจประเมินอาการ และรักษาตามแนวทางเหล่านี้ค่ะ
- การกินยาคลายกล้ามเนื้อ การกินยาบรรเทาอาการปวด
- การนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวดเป็นการบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรม ที่ทำให้ทุเลาลงชั่วคราวค่ะ
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave therapy) เพื่อคลายปมพังผืดและกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่ เป็นวิธีที่รักษาสำหรับผู้ที่เป็นออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง
- การรักษาทางกายภาพบำบัดลดอาการปวดด้วยคลื่นอัลตร้าซาวน์ และการรักษาด้วยแสงเลเซอร์
- การฝังเข็มสลายปมพังผืด โดยวิธี Dry Needling ตามวิธีแพทย์แผนจีน
การรักษาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลดี ต้องเกิดจากความเข้าใจถึงสาเหตุ เรียนรู้ถึงวิธีลดปัจจัยเสี่ยง ปรับวิธีการทำงานเพื่อป้องกันโรค รวมถึงรู้วิธีการรักษาตนเองเบื้องต้นเพื่อไม่ให้อาการรุนแรง ตลอดจนดูแลเรื่องการออกกำลังกาย อาหารและผ่อนคลายความเครียดอย่างสม่ำเสมอ เชื่อว่าโรคนี้รักษาได้ไม่ยาก ถ้าทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แอดรินเป็นกำลังใจให้นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก